analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง ความเป็นอยู่ของคนไทยในครึ่งปีแรกของปี 66
           ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจความเป็นอยู่ของตนเองในครึ่งปีแรกเฉลี่ย 3.07 คะแนน
     จากเต็ม 5 คะแนน
            โดยร้อยละ 40.1 ระบุว่าสถานการณ์ทางการเงินตอนนี้ มีรายได้แบบเดือนชนเดือนไม่พอเก็บออม            ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.6 หมดเงินไปกับค่าเดินทาง/ค่าน้ำมัน และร้อยละ 33.3 หมดเงินไปกับ
     การเสี่ยงโชค/เล่นหวย/ซื้อลอตเตอรี่
            ทั้งนี้ร้อยละ 49.6 วอนรัฐบาลใหม่แก้ไขปัญหาค่าครองชีพสูง สินค้าราคาแพงเป็นอันดับแรกเพื่อให้
     ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นของประชาชน
เรื่อง “ความเป็นอยู่ของคนไทยในครึ่งปีแรกของปี 66” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน
ทั่วประเทศ จำนวน 1,077 คน พบว่า
 
                  ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจชีวิต
ความเป็นอยู่ในภาพรวมเฉลี่ย 3.07 คะแนนจากเต็ม 5 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับ
ปานกลาง
โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว เฉลี่ย
4.00 คะแนน ขณะที่ด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านค่าครองชีพ ราคาสินค้าอุปโภค
บริโภคต่างๆ เฉลี่ย 2.03 คะแนน
 
                 ส่วนสถานการณ์ทางการเงินในช่วงครึ่งปีแรก พบว่า ประชาชน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 40.1 ระบุว่า มีรายได้แบบเดือนชนเดือน ไม่พอเก็บออม/ยังไม่ได้
ออมเลย
รองลงมาร้อยละ 26.1 ระบุว่า มีรายได้ไม่เพียงพอต้องหยิบยืม/เงินขาดมือ และ
ร้อยละ 23.8 ระบุว่า มีรายได้เพียงพอ มีเงินออมลดลง/ไม่ได้ตามเป้า ที่เหลือร้อยละ 10.0
ระบุว่ามีรายได้เพียงพอ มีเงินออมตามเป้า
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าหมดเงินไปกับเรื่องใดบ้างนอกจากค่าอาหารการกิน พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.6
ระบุว่า หมดเงินไปกับค่าเดินทาง/เติมน้ำมัน/เติมก๊าซ
รองลงมาร้อยละ 33.3 ระบุว่า เสี่ยงโชค/เล่นหวย/ซื้อลอตเตอรี่
และร้อยละ 32.5 ระบุว่า ช้อปปิ้งออนไลน์/ซื้อของออนไลน์
 
                  สำหรับสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลใหม่แก้ปัญหามากที่สุดเป็นอันดับแรกเพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.6 ระบุว่า เรื่องค่าครองชีพสูง สินค้าราคาแพง
รองลงมาร้อยละ 20.7 ระบุว่า เรื่องเศรษฐกิจ
การลงทุน การท่องเที่ยวของไทย และร้อยละ 11.1 ระบุว่า เรื่องควบคุมราคาน้ำมัน
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาท่านพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ของท่านในด้านต่างๆ ต่อไปนี้
                   มากน้อยเพียงใด


ประเด็น
ระดับความพึงพอใจ
(เต็ม 5 คะแนน)
แปลผล
ความสัมพันธ์ในครอบครัว
4.00
มาก
สุขภาพ โรคภัย และการเข้าถึงการรักษาพยาบาล
3.38
ปานกลาง
ความสะดวกสบายในการเดินทาง
3.25
ปานกลาง
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3.23
ป่านกลาง
การงาน การประกอบอาชีพ
2.98
ปานกลาง
รายได้เพียงพอกับรายจ่าย
2.59
น้อย
ค่าครองชีพ ราคาสินค้า อุปโภค บริโภค
2.03
น้อย
เฉลี่ยรวม
3.07
ปานกลาง
 
 
             2. สถานการณ์ทางการเงินของท่านในช่วงครึ่งปีแรกเป็นอย่างไร

 
ร้อยละ
มีรายได้แบบเดือนชนเดือน ไม่พอเก็บออม/ยังไม่ได้ออมเลย
40.1
รายได้ไม่เพียงพอต้องหยิบยืม/เงินขาดมือ
26.1
มีรายได้เพียงพอ มีเงินออมลดลง/ไม่ได้ตามเป้า
23.8
มีรายได้เพียงพอ มีเงินออมตามเป้า
10.0
 
 
             3. ท่านหมดเงินไปกับเรื่องใดบ้างนอกจากค่าอาหารการกิน (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ค่าเดินทาง/เติมน้ำมัน/เติมก๊าซ
75.6
เสี่ยงโชค/เล่นหวย/ซื้อลอตเตอรี่
33.3
ช้อปปิ้งออนไลน์/ซื้อของออนไลน์
32.5
ผ่อนรถ
30.1
สังสรรค์/พบปะเพื่อนฝูง
21.9
จ่ายหนี้ที่หยิบยืมมา/นอกระบบ
18.4
ท่องเที่ยว
17.6
ค่ารักษาพยาบาล
16.7
ผ่อนบ้าน
16.0
ผ่อนสินค้าต่างๆ/ผ่อนบัตรเครดิต
12.5
อื่นๆ อาทิ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าให้ลูกไปโรงเรียน ทำบุญ อาหารสัตว์ ฯลฯ
6.2
 
 
             4. สิ่งที่ท่านต้องการให้รัฐบาลใหม่แก้ปัญหามากที่สุดเป็นอันดับแรกเพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
                  


 
ร้อยละ
ค่าครองชีพที่สูง สินค้าราคาแพงขึ้น
49.6
ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว ของไทย
20.7
ควบคุมราคาน้ำมัน
11.1
ราคาสินค้าการเกษตร ราคาปุ๋ย อาหารสัตว์
8.6
การรับมือกับสังคมสูงอายุ
5.6
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
1.7
ปัญหาจราจรและการเดินทาง
1.2
การป้องกันรับมือกับปัญหาโลกรวน/น้ำท่วม/น้ำแล้ง
0.6
อื่นๆ อาทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหาคอร์รัปชั่น ฯลฯ
0.9
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                   เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในช่วงครึ่งปีแรก
ของปี 2566 ความพึงพอใจต่อการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ สถานภาพทางการเงินการออม ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในแต่ละเดือน
และเรื่องที่อยากให้รัฐบาลใหม่แก้ไขมากที่สุดอันดับแรก ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและ
ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 17- 21 กรกฎาคม 2566
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 29 กรกฎาคม 2566
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
571
53.1
             หญิง
506
46.9
รวม
1,077
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
93
8.6
             31 – 40 ปี
143
13.3
             41 – 50 ปี
228
21.2
             51 – 60 ปี
301
27.9
             61 ปีขึ้นไป
312
29.0
รวม
1,077
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
717
66.6
             ปริญญาตรี
283
26.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
77
7.1
รวม
1,077
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
116
10.8
             ลูกจ้างเอกชน
178
16.5
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
480
44.6
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
31
2.9
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
206
19.1
             นักเรียน/ นักศึกษา
11
1.0
             ว่างงาน
55
5.1
รวม
1,077
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898